เทคโนโลยี Bluetooth

เทคโนโลยีไร้สาย Bluetooth® คือเทคโนโลยีการสื่อสารช่วงสั้นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแทนที่อุปกรณ์เชื่อมต่อมีสายแบบพกพาหรืออุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ ควบคู่กับการรักษาความปลอดภัยระดับสูง

การยอมรับ Bluetooth ในระดับโลกและโครงสร้างเทคโนโลยี Bluetooth ช่วยให้อุปกรณ์ที่เปิดการใช้งาน Bluetooth สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เปิดการใช้งาน Bluetooth เครื่องอื่นที่อยู่ในรัศมีที่ระบุ

ข้อมูลทั้งหมดภายในส่วนนี้และคำอธิบายเทคโนโลยีอย่างละเอียดมีอยู่ที่เว็บไซต์ www.bluetooth.com

การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่เปิดการใช้งาน Bluetooth อนุญาตให้อุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่อกันแบบไร้สายผ่านเครือข่าย แบบเฉพาะกิจ ที่เรียกว่าไพโคเน็ต (การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายขนาดเล็ก) ไพโคเน็ตได้รับการติดตั้งอย่างยืดหยุ่นและอัตโนมัติขณะที่อุปกรณ์ที่เปิดการใช้งาน Bluetooth เข้าสู่และออกจากรัศมีของสัญญาณวิทยุ อุปกรณ์แต่ละเครื่องในไพโคเน็ตสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นอีก 7 เครื่องภายในไพโคเน็ตเดียวกันได้พร้อมกัน และอุปกรณ์แต่ละเครื่องยังสามารถอยู่ในไพโคเน็ตหลายเครือข่ายได้พร้อมกัน วิธีการที่คุณสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ Bluetooth เกือบจะมีไม่จำกัด

ระยะของเทคโนโลยี Bluetooth เป็นข้อมูลจำเพาะของแอปพลิเคชัน ข้อมูลจำเพาะหลักกำหนดระยะต่ำสุดไว้ที่ 10 เมตร หรือ 30 ฟุต แต่ไม่จำกัดขอบเขตที่สามารถค้นหาสัญญาณเพื่อนำเสนอระยะที่จำเป็นในการรองรับกรณีการใช้งานสำหรับโซลูชันต่างๆ

แถบความถี่

เทคโนโลยี Bluetooth ทำงานในย่านความถี่สำหรับอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ (ISM) ที่ไม่มีสิทธิ์การใช้งานที่ 2.4-2.485 GHz โดยใช้การกระจายแถบความถี่ การกระโดดข้ามช่องสัญญาณ การรับส่งสัญญาณในเวลาเดียวกันที่อัตรา 1600 hops/sec ย่านความถี่ 2.4 GHz ISM สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตการใช้งานในประเทศส่วนใหญ่

ระยะ

ระยะอาจแตกต่างกันตามคลาสของสัญญาณวิทยุที่ใช้ในการดำเนินการ:

พลังงาน

สัญญาณวิทยุที่ใช้กันมากที่สุดคือคลาส 2 และใช้พลังงาน 2.5 mW เทคโนโลยี Bluetooth ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ใช้พลังงานต่ำมาก รวมถึงช่วยให้สัญญาณวิทยุไม่ใช้พลังงานเมื่อไม่ได้ใช้งานอยู่

Generic Alternate MAC/PHY ใน Bluetooth ความเร็วสูงช่วยให้ค้นพบ AMP ระยะไกลสำหรับอุปกรณ์ความเร็วสูง และเปิดสัญญาณวิทยุเมื่อจำเป็นในการถ่ายโอนข้อมูลเท่านั้น ทำให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยรักษาความปลอดภัยสัญญาณวิทยุุ

อัตราข้อมูล